วันจันทร์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2553

M-Commerce

                การทำธุรกรรรมผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เช้น การซื้อขายสินค้าและบริการผ่านทางอุปกรณ์สื่อสารที่ใช้ Wireless (เช่น PDA)
Value Added Attributes that Drive Development of M-Commerce
-Ubiquity ปัจจุบันเราใช้งานโทรศัพท์มือถือกันแพร่หลายมาก และใช้งานกันกว้างขวาง ไม่ได้ใช้เฉพาะในกลุ่มนักธุรกิจเหมือนในอดีต แต่ไปถึงแม่บ้าน นักศึกษา วัยรุ่น ฯลฯ ซึ่งสามารถเข้าถึงได้จากทุกหนทุกแห่งไม่ว่าอยู่ที่ใดก็ตาม
-Convenience มีความสะดวกในการนำไปใช้ และใช้งานได้ไม่ยาก เมื่อเปรียบเทียบกับการใช้คอมพิวเตอร์ โดยฟังก์ชันที่ทำงานบนมือถือจะสนองตอบการใช้งานที่ง่าย และใช้เวลาน้อยกว่า เราสามารถสื่อสารผ่านทางระบบอินเตอร์ได้จากทุกที่ ไม่ว่าจะอยู่ที่ใดก็ตาม
-Instant Connectivity การที่สามารถซื้อขายผ่านอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็ว
-Personalization เป็นเครื่องมือสื่อสารอยู่กับเรา โดยคนแต่ละคนก็จะมีการcustomizeเพื่ให้เข้ากับความต้องการของตนเอง
-Localization of products &services สามารถเข้าถึงข้อมูลที่เป็นส่วนตัวของเราได้ ตามสถานที่ที่เราอยู่

Drivers of Mobile Computing & M-Commerce
-Widespread availability of mobile devices ในปัจจุบันคาดว่าคนไทยมีจำนวนโทรศัพท์มากกว่าจำนวนประชากรที่มีอยู่
-No need of pc การที่มีโทรศัพท์เคลื่อนที่ทำให้เราไม่จำเป็นต้องใช้PCแล้ว
-Handout culture วัฒนธรรมคนสมัยใหม่ (Gent Y) เน้นการเลือกใช้โทรศัพท์เคบื่อนที่ที่มีความรวดเร็ว และต้องการฟังก์ชั่นที่เป็นมากกว่าโทรศัพท์สื่อสาร เช่น สามารถใช้ในการท่องอินเตอร์เน็ต
-Declining prices, increased functionalities ปัจจุบันราคาของโทรศัพท์เคลื่อนที่มีราคาถูกลงมาก และยังมีฟังก์ชั่นต่างๆเพิ่มขึ้นมากกว่าสมัยก่อน
-Improvement of bandwidth เช่น 3G ,3.5G ในประเทศไทยคาดว่า3Gจะสามารถใช้ได้ในปี2554
     Cont’d
-Centrino Chip การนำWirelessมาใช้ ทำให้การผลิตมีประสิทธิภาพในการมากขึ้น  เช่น สามารถประหยัดต้นทุนได้มากขึ้น
-Availability of Internet access in automobile ปัจจุบันผู้ใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
-Networks เช่น 3G, 4G, Wi-Fi
-The service Economy ประเทศที่พัฒนาแล้วจะเน้นการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยี เน้นการขายบริการที่ไม่ใช่ตัวสินค้า เช่นContent ต่างๆ เพราะสามารถสร้างกำไรได้มากกว่า
-Vendor’s Push ผู้ผลิตจะเน้นการดำเนินธุรกิจในรูปแบบE-commerce
-The Mobile Workforce ปัจจุบันโทรศัพท์กลายเป็นเครื่องมือที่จำเป็นต่อการใช้ในการทำงาน

·        Mobile-Banking การทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์มือถือ เช่น การฝากเงิน การโอนเงิน ขำระค่าบริการรายเดือน เป็นต้น ในปัจจุบันธนาคารกสิกรมีการนำเข้ามาใช้ ข้อดี คือ มีความสะดวก รวดเร็ว แต่ว่าในปัจจุบันผู้บริโภคบางคนก็ยังไม่มั่นใจในความปลอดภัยของข้อมูล
·        Mobile-Shopping เช่น Ebay, SHOPWIKI, Yahoo Moblie โดยการสั่งซื้อสินค้าและบริการผ่านโทรศัพท์มือถือ
·        Mobile Marketing and Advertising เช่น MMS ที่มีการโฆษณาสินค้าต่างๆ
·        International Based Service ใช้การขายและเสนอสินค้าให้กับผู้ใช้
·        Location Based Serviceเป็นบริการอย่างหนึ่งที่ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีไร้สาย  ที่ทำให้บุคคลหรือองค์กรใดๆ  ระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้ใช้อุปกรณ์ไร้สายได้อย่างแม่นยำ เช่น เวลาเราเข้าไปตามงานต่างๆ จะมีการส่งข้อมูลเข้ามาผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ FourSquare เป็นการอัพโหลดสถานที่ที่เราอยู่ผ่านโทรศัพท์พวกSmart phone หรือเมื่อเราเดินทางไปสถานที่ต่างๆก็จะปรากฎชื่อสถานที่ที่เราอยู่ นอกจากนี้ยังนำมาใช้ในการสร้างcommunityด้วย หรือ Best Buy Shop Kicks คือเมื่อเราเดินเข้าร้านBest Buy จะขึ้นข้อมูลสินค้าที่มีส่วนลดขึ้นมาทางโทรศัพท์มือถือ
·        Mobile travel information and booking เช่น การจองตั๋วเครื่องบิน การจองทัวร์ หรือค้นหาสถานที่ท่องเที่ยว

Mobile Computing
คือ การนำเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และโทรศัพท์ไร้สายมาเชื่อมโยงกัน  ทำให้สามารถใช้โทรศัพท์ไร้สายติดต่อทำงานร่วมกับระบบคอมพิวเตอร์ได้ โดย Alan Kay เป็นคนริเริ่มการทำLaptop คนแรก เมื่อปี 1968 

Mobile Computing Infrastructure
-WAP (Wireless Application Protocol)
-Markup language เช่น WML, XTML
-Mobile development เช่น Net compact, Java ME, HTM3
-Mobile Emulation
-Microbrowsers เช่น Android, Safari เป็นต้น ปัจจุบันบริษัทที่เป็นผู้นำในการพัฒนาAndroidคือ Apple

M-Commerce Business Models
-Usage fee Models
-Shopping Business Models
-Marketing Business Models เช่น ธุรกิจเพลงที่ปัจจุบันเน้นการขายcontentต่างๆ และการขายความบันเทิง
-Improved Efficiency Models
-Advertising Business Models (Flat fees/Traffic-based fees)
-Revenue-Sharing Business Model

Ø 3G :การพัฒนาของ 3G ทำให้เกิดการใช้บริการมัลติมีเดีย และ ส่งผ่านข้อมูลในระบบไร้สายด้วยอัตราความเร็วที่สูงขึ้น ลักษณะการทำงานของ 3G เมื่อเปรียบเทียบเทคโนโลยี 2G กับ 3G แล้ว 3G มีช่องสัญญาณความถี่ และ ความจุในการรับส่งข้อมูลที่มากกว่า ทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งข้อมูลแอพพลิเคชั่น รวมทั้งบริการระบบเสียงดีขึ้น พร้อมทั้งสามารถใช้ บริการมัลติมีเดียได้เต็มที่ และ สมบูรณ์แบบขึ้น  เช่น บริการส่งแฟกซ์, โทรศัพท์ต่างประเทศ ,รับ-ส่งข้อความที่มีขนาดใหญ่ ,ประชุมทางไกลผ่านหน้าจออุปกรณ์สื่อสาร, ดาวน์โหลดเพลง, ชมภาพยนตร์แบบสั้นๆ เทคโนโลยี เหมาะสำหรับผู้ประกอบการ
Ø Wi Max :เป็นWireless ที่ใหญ่มาก สามารถใช้ได้ทั่วเมือง เป็นสิ่งที่เพิ่มValue Added ให้กับผู้บริโภค แต่ว่าไม่ค่อยเพิ่มValue Added ให้กับผู้ผลิตเท่าไหน่
Ø RFID : ในปัจจุบันมีลักษณะเป็นป้ายอิเล็กทรอนิกส์ (RFID Tag) ที่สามารถอ่านค่าได้โดยผ่านคลื่นวิทยุจากระยะห่าง เพื่อตรวจ ติดตามและบันทึกข้อมูลที่ติดอยู่กับป้าย ซึ่งนำไปฝังไว้ในหรือติดอยู่กับวัตถุต่างๆเช่น ผลิตภัณฑ์ กล่อง หรือสิ่งของ

iTunes Ecosystem
บริษัทApple ประสบความสำเร็จ เนื่องจากการเน้นการขายcontent สิ่งที่Appleมีแต่ว่าบริษัทอื่นไม่มี คือ การที่ผู้ใช้สามารถใช้บริการทุกอย่างได้ผ่านทางiTunes ซึ่งผู้บริโภคสามารถดาวโหลดApplication และเพลงได้เอง  Appleเน้นเจาะกลุ่มผู้บริโภคที่ต้องการซื้อสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่รับได้ คือเสนอขายเพลงที่ราคา $0.99 ผู้ใช้ไม่ต้องเสี่ยงจากการที่จะติดไวรัสจากกการดาวโหลดไฟล์ นอกจากนี้ยังมีการเพลงที่ไม่ใช่ของนักร้องดังๆเท่านั้น แต่ยังเปิดโอกาสให้นักร้องIndyสามารถเข้าไปขายได้ด้วย Apple จึงเป็นผู้ปฎิวัติวงการเพลง ในปัจจุบันAppleสามารถขายเพลงได้เป็น66%ของรายได้ในการขายเพลงในอเมริกา
ในส่วนของApplicationเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปเข้าไปพัฒนาและเสนอขายให้กับAppleได้ เกิดเป็นApp-Store นอกจากนี้ยังทำให้เกิดธุรกิจที่ขายอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับApple เช่น caseของIphone หรืออุปกรณ์ที่ใช้กับMacbook เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการขาย music, movies, books โดยการออก Ipad ซึ่งเป็นการปฎิวัติวงการหนังสือ ให้คนหันมาอ่านหนังสือพวกE-Book มากขึ้น
Ø iPad ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก เนื่องจากมีความสะดวก และสามารถตอบสนองต่อผู้ใช้ได้รวดเร็วกว่าเนื่องจากใช้ระบบสัมผัส น้ำหนักเบา สะดวกต่อการพกพา นอกจากนี้ยังเน้นการขายcontentต่างที่สามารถใช้กับ iPadได้ เช่น หนังสือ เป็นต้น
Ø Kindle เน้นการอ่านหนังสือเพียงอย่างเดียว แต่มีข้อแตกต่างจากTablet อย่างอื่น คือ ลักษณะหน้าจอจะไม่ใช่แบบเดียวกับคอมพิวเตอร์ที่มีการกระพริบตลอดเวลา แต่จะเป็นการใช้หน้าจอที่มีลักษณะคล้ายกับกระดาษทำให้ผู้ใช้สามารถอ่านหนังสือผ่านTablet ได้นานมากขึ้น และไม่มีผลทำให้สายตาเกิดการเมื่อยล้า

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

E-business and E-commerce

การติดต่อธุรกิจที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยในการแลกเปลี่ยนสินค้า และติดต่อสื่อสาร ตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จมากๆ เช่น DELL ที่เน้นการขายให้กับองค์กร หรือบริษัทใหญ่ๆ เน้นการขายตรง เพราะขายได้เยอะกว่า และมีการทำcontactในระยะยาวทำให้ได้ค่าซ่อมบำรุงด้วย (ส่วนใหญ่องค์กรมักใช้คอมพิวเตอร์เป็นระยะ 3- 5 ปี) 
                ลูกค้าของDell สามารถเลือกคอมพิวเตอร์ได้ว่าต้องการSoftware หรือ Hardwareแบบไหน โดยการขายผ่านทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งในขณะนั้นคนส่วนใหญ่ยังไม่คอยเชื่อว่าขายผ่านทางอินเตอร์เน็ตนั้นมีความน่าเชื่อถือ เลยมีการทำCatalog แจก และสามารถสั่งซื้อผ่านโทรศัพท์ได้ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่มักมาจากประเทศจีน โดยใช้ระบบIT (Requiry Electronic) ในการบริหารระบบSupply-Chain นอกจากจะใช้ในด้านการสั่งสินค้าแล้ว ลูกค้ายังมาสามารถตรวจสอบสถานะของคอมพิวเตอร์ที่ตนสั่งได้ว่าขณะนี้คอมพิวเตอร์ที่สั่งอยู่ในกระบวนการไหนแล้ว นอกจากนี้ ระบบ Customer Service ก็ใช้IT ในการบริหารงาน โดยนำระบบCalling Centerมาใช้ เช่น การที่ลูกค้าสามารถสั่งซ่อมผ่านทางโทรศัพท์ได้
                E-bay เน้นการขายสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ต มีการใช้การประมูลราคา ซึ่งบางคนยอมที่จะประมูลในราคาที่มากกว่าความเป็นจริง เนื่องจากการที่ได้รับข้อมูลที่ไม่เท่ากันและอาจเนื่องมาจากการอยากเอาชนะ ทำให้E-bayได้กำไรจากการขายสินค้าลักษณะนี้จำนวนมาก ปัจจุบันE-bayมีการขายสินค้าทุกชนิด
                Amazon (King of E-tailing) เริ่มจากการขายหนังสือผ่านระบบอินเตอร์เน็ตก่อน ต่อมาเริ่มขยายไปขายอย่างอื่นเพิ่มขึ้น ซึ่งแต่เดิมที่มีลักษณะการซื้อสินค้าของลูกค้าแบบLong-Tail ที่จะซื้อสินค้าเพียงแค่ที่โชว์หน้าร้านทำให้ลูกค้าเห็นหนังสือเพียงแค่ 10% แต่เมื่อAmazonตั้งขึ้น ทำให้ลูกค้า สามารถเข้าถึงหนังสืออีก90%ได้มากขึ้น

Click & mortar VS Brick&mortar organization
                Click&mortar คือเป็นธุรกิจที่มีทั้งonline และoffline ด้วย เช่น Bank

E-commerce
Affiliate Marketing การทำการตลาดผ่านทางผู้แทนโฆษณา โดยทางบริษัทจะจ่ายเงินค่าตอบแทนให้กับผู้แทนโฆษณาก็ต่อเมื่อผู้แทนโฆษณาเหล่านั้นได้แนะนำคนเข้ามายังเว็บไซต์ของบริษัท และได้ทำธุรกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทางบริษัทกำหนดไว้ เช่น ซื้อสินค้าหรือ สมัครสมาชิก เป็นต้น
Bartering online เป็นการแลกเปลี่ยนสินค้า โดยการนำสินค้ามาแลกกันไปเรื่อยๆ ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตโดยไม่ใช้เงิน
Deep Discounted เช่น half.com
E-classifieds เช่น classifieds2000.com
ประโยชน์ของการทำ E-commerce
Ø Organization
1.ทำให้สร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น และเป็นการเพิ่มฐานลูกค้าไปยังภูมิภาคอื่นๆ
2.ทำให้ระบบการสั่ง-ขายสินค้ามีความสะดวก
Ø Customer
1.สะดวกในการซื้อสินค้าและการติดต่อ
2.ลดระยะเวลา
3.สามารถซื้อสินค้าได้ในราคาที่ถูกลง เนื่องจากการที่ได้รับข้อมูลขึ้น
Ø Society
1.ช่วยในหการประหยัดเวลาในการค้นหาข้อมูลต่าง ช่วยให้ลดการใช้ทรัพยากร เช่น การท่องเที่ยวผ่านอินเตอร์เน็ต
2.ลดค่าใช้จ่ายในการกระจายสินค้า
3.เพิ่มการเข้าถึงให้กับคนที่อยู่ในชนบทมากขึ้น
ข้อจำกัดของการใช้
1.Standard ของผู้บริโภคต่างกัน  บางทีอาจทำให้ทำงานร่วมกันไม่ได้ เข้าถึงสินค้าได้ลำบาก
2.อาจโดนหลอกลวงจากการซื้อขาย เช่น เรื่องการโดนล้วงข้อมูลจากบัตรเครดิต ทำให้สูญเสียเงิน

E-business
 เช่น Facebook, Amazon, E-bay คือ เป็นการทำการตลาดป่านช่องทางออนไลน์ นอกจากนี้ยังมีการใช้ในการทำธุรกิจท่องเที่ยว และธุรกิจอื่นๆอีกมากมาย

Application Programming Process
การที่บริษัทหนึ่งผลิตโปรแกรมออกมา แล้วมีการทำlinkเพื่อให้บริษัทอื่นนำไปใช้ต่อได้ เช่น บริษัทApple มีการแชร์ source code เพื่อให้บริษัทอื่นสามารถไปพัฒนา software หรือApplicationต่างๆต่อได้ เช่น App-store

Social Commerce
การซื้อของผ่านช่องทางออนไลน์ เรามักมีการค้นหาข้อมูลก่อนล่วงหน้า ซึ่งคนส่วนใหญ่จะเชื่อเพื่อนมากกว่า ดังนั้นการใช้ช่องทาง Social commerce /Social shopping จึงเป็นช่องทางที่เป็น trend ในอนาคต เช่น Facebook ที่ในปัจจบันมีคนใช้จำนวนมาก โดย Facebook พยายามพัฒนาเว็บไซด์ให้เป็น Search Engine เพื่อให้ข้อมูลมีการเชื่อมต่อกัน และทำให้การเข้าถึงข้อมูลสามารถทำได้ง่ายขึ้น

การใช้E-Catalogs
คือ การใช้Catalogs Online ลูกค้าสามารถเลือกดูสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าที่ต้องการดูสินค้าผ่านทางอินเตอร์เน็ตมากกว่าการดูจากหนังสือ หรือ ใบปลิว

E-Autions
การประมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต เช่น E-bay, Ubid, JTV, Swoopo หรือในเว็บไซด์ DELL ที่มีการนำคอมที่ตกรุ่น หริอ overstock มาประมูลขายเพราะเชื่อว่าจะได้ราคาสูงกว่า
·        Half.com เป็นการขายครึ่งราคาจากราคาจริง ไม่ต้องมาbid
·        Swaptree.com เป็บเว็บไซน์ในการแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกัน เช่น การนำหนังสือมาแลกเปลี่ยนกับซีดี
·        TARADb2b.com เป็นเว็บไซน์ขายสินค้าทางอินเตอร์ของคนไทย โดยเปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้ามาแลกเปลี่ยนซื้อขายกันได้อย่างอิสระ

Customer Service Online
เช่น True, AIS  คือ ให้ลูกค้าหาคำตอบเองก่อน ก่อนที่จะให้คุยกับcustomer serviceก่อน

Electronic Malls
สร้างประสบการณ์ให้กับผู้บริโภคเหมือนกับที่อยู่ในห้างสรรพสินค้าจริงๆ แต่ทำบนอินเตอร์เน็ต เช่น การมีโรงภาพยนตร์ และมีมุมนั่งพัก

Online Job Market
                เป็นบริษัทจัดหางานทางอินเตอร์เน็ต

Travel Service
                มีการใช้ระบบITมาก เริ่มจากการเลือกช่องทางการเดินทาง การจองที่พัก การเลือกกิจกรรมต่างๆ เป็นธุรกิจที่มี Supply Chain เยอะมาก เช่น hotelthailand.com

Real Estate Online
                การดูข้อมูลเกี่ยวกับบ้านจากทางออนไลน์ก่อนที่จะไปดูสถานที่จริง

B2Eเป็น e-commerce ที่ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอินทราเน็ตในการดำเนินธุรกรรมเพื่อเพิ่มผลกำไรด้วยการลดค่าใช้จ่ายของบริษัท เช่น การติดต่อสื่อสารระหว่างพนักงานแบบไร้กระดาษ
E2Eเป็นการที่พนักงานมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน เช่น การซื้อ-ขายสินค้าและบริการระหว่างพนักงานในบริษัท
E-Collaborative -การเรียนรู้ระหว่างกัน หรือร่วมกันทำงานที่รับผิดชอบด้วยกัน ผ่านช่องทางออนไลน์
E-Government –เป็นการส่งข้อมูลและการบริการตจากภาครัฐสู่ประชาชน และองค์กรธุรกิจ

วันพุธที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2553

INFORMATION TECHNOLOGY FOR PROFESSIONAL ACCOUNTANTS II



Productivity Paradox ถูกใช้เรียกการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่สามารถประเมินผลตอบแทนได้ ซึ่งทำให้เกิด IT Justification
  • Why Justify IT investments?-cont’d
เนื่องจากในปัจจุบันองค์กรต่างๆเริ่มรู้ว่า IT ไม่ใช่คำตอบทั้งหมดของปัญหาที่เกิดขึ้น จึงต้องมีการปรับกระบานการนำITมาใช้  กล่าวคือ องค์กรจะมองITเป็นโครงการซึ่งจะต้องได้รับการพิจารณาเช่นเดียวกับโครงการอื่นๆ ดังนั้นการจะลงทุนในIT project จะต้องมีการมองถึงROI (Return On Investment) รวมทั้งการหาข้อมูลจากแหล่งอื่นๆ เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงจากโครงการเเละผลตอบเเทนที่จะได้รับ
  • เงื่อนไขที่จะทำโครงการIT โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการให้เหตุผล
-โครงการที่ใช้เงินลงทุนน้อยมาก
-โครงการที่ไม่ลงทุนเเล้วอาจเกิดความเสี่ยง เช่น โครงการที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค โครงการที่กฏหมายบังคับให้ลงทุน เป็นต้น
-โครงการที่ผู้บริหารมีนโยบายให้ทำ
  • เงื่อนไขที่จะไม่ทำโครงการIT โดยที่ไม่จำเป็นต้องมีการให้เหตุผล
-โครงการที่มีข้อมูลไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น
Productivity Paradox สามารถแบ่งได้เป็น
1. การประเมินค่าที่ไม่เหมาะสม (Mismeasurement)
การใช้ตัววัดที่ไม่เหมาะสมมักเป็นเหตุผลที่ถูกอ้างถึงบ่อยที่สุด ในบรรดาคำอธิบายถึงปรากฏการณ์ Productivity Paradoxในทางธุรกิจการที่จะดูว่าผลตอบแทนของการลงทุนมีความคุ้มค่ามากน้อยเพียงไรนั้น จะใช้ดัชนีชี้วัดทางการเงินที่สามารถวัดได้ชัดเจน เป็นดัชนีชี้วัดความสำเร็จ นั่นคือ หากการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศประสพผลสำเร็จ องค์กรก็ควรมีผลประกอบการเช่น ผลกำไร ส่วนแบ่งตลาด ที่สูงขึ้น  
ข้อวิจารณ์ที่สำคัญของการใช้ดัชนีชี้วัดทางการเงินเป็นตัวชี้วัดผลตอบแทนของการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็คือ ในทางปฏิบัติแล้ว ยังมีองค์ประกอบต่างๆอีกหลายประการที่มีอิทธิพลต่อผลประกอบการขององค์กร เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเพียงส่วนหนึ่งในหลายๆองค์ประกอบนั้นที่อาจมีผลต่อดัชนีชี้วัดทางการเงิน ยกตัวอย่างเช่น การที่องค์กรมีผลกำไรที่สูงขึ้นหรือต่ำลง อาจได้รับผลกระทบโดยตรงจากสภาพเศรษฐกิจของประเทศก็ได้ ในสภาพเศรษฐกิจที่ไม่ดี ไม่ว่าจะมีการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสูงเท่าไหร่ ก็คงไม่อาจทำให้ผลกำไรขององค์กรดีขึ้นไปมากได้
นอกจากนั้นแล้ว ในทางปฏิบัติผลตอบแทนของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจจะไม่ได้อยู่ในรูปแบบที่สามารถวัดได้โดยตรง แต่อาจอยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถวัดได้โดยตรงหรือไม่สามารถจับต้องได้ (Intangible Benefits) เช่น การที่องค์กรใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการแก่ลูกค้าหรือการเพิ่มประสิทธิภาพในการส่งของให้แก่ลูกค้าให้มีความรวดเร็วทันใจ ผลกระทบต่างๆเหล่านี้อาจไม่ได้มีผลโดยตรงต่อดัชนีชี้วัดทางการเงิน การที่จะใช้แต่ดัชนีชี้วัดที่เป็นตัวเลขเพียงอย่างเดียว คงไม่เป็นการเพียงพอในการประเมินถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นของเทคโนโลยีสารสนเทศ ดังนั้นการรับมือกับผลประโยชน์ที่ไม่สามารถจับต้องได้ คือ การมองประโยชน์ระยะสั้นๆก่อน รวมถึงการเปิดโอกาสให้บุคคลอื่นมีส่วร่วมในการสร้างInnovative ต่างๆ
อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดก็คือ ในกรณีของการใช้เอทีเอ็มในธุรกิจธนาคารเอทีเอ็มสามารถเพิ่มเวลาการให้บริการของธนาคารเป็น 24 ชั่วโมง แน่นอนว่าเอทีเอ็มมีส่วนในการเพิ่มคุณภาพของการบริการแก่ลูกค้าเป็นอย่างมาก แต่เราจะสามารถประเมินผลประโยชน์จากเอทีเอ็มในรูปแบบใด? หรือโดยวิธีใด?
นอกเหนือจากปัญหาในการวัดผลตอบแทนแล้ว การประเมินระดับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(IT Investment)ก็มีปัญหาไม่แพ้กัน ปัญหาอย่างหนึ่งในการประเมินมูลค่าของอุปกรณ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็คือ มูลค่าของอุปกรณ์มีการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วมาก ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนคือ ราคาของไมโครคอมพิวเตอร์ที่มีการปรับราคาเปลี่ยนไปแทบจะเดือนต่อเดือน การที่มูลค่าของอุปกรณ์มีการเปลี่ยนแปลงไปรวดเร็วมากทำให้เป็นการยากที่จะประเมินมูลค่าที่แท้จริงของอุปกรณ์ ผลที่ตามมาก็คือการประเมินราคาของอุปกรณ์ที่อาจเกินจริงไปได้ (Overestimated) ซึ่งแน่นอนว่าย่อมจะมีผลต่อการคำนวณผลตอบแทนที่ถูกต้องด้วย
2. ระยะเวลาของการเกิดผลกระทบ (Time Lag)
สาเหตุอีกประการของปรากฏการณ์ Productivity Paradox ก็คือ ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศใช้เวลาในการแสดงผลให้ปรากฏ (Time Lag Effect) อุปสรรคขององค์กรที่ต้องมีการเริ่มใช้ระบบเทคโนโลยีใหม่ก็คือ องค์กรต้องใช้เวลาในการเรียนรู้ องค์กรต้องให้เวลาผู้ใช้ระบบงาน ในการปรับตัวและเรียนรู้ระบบงานใหม่ องค์กรจะได้รับประโยชน์สูงสุดจากระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศก็ต่อเมื่อผู้ใช้ระบบงานนั้นมีความชำนาญในการใช้ระบบงาน สามารถใช้เทคโนโลยีในการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในงานของตนเองได้อย่างเต็มที่ ยิ่งผู้ใช้มีความเชี่ยวชาญในการใช้ระบบเทคโนโลยีมากเท่าไร ประโยชน์ที่เกิดขึ้นก็จะสูงขึ้นตาม
องค์กรใดใช้เวลาในการเรียนรู้ปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีใหม่น้อยเท่าไหร่ องค์กรนั้นก็สามารถที่จะได้ประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีนั้นเร็วเท่านั้น ดังนั้นจึงเป็นการยากที่องค์กรจะสามารถเห็นผลตอบแทนของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สร้างขึ้นมาใหม่ได้ในเวลาอันรวดเร็ว
ตัวเลขของระยะเวลาที่เหมาะสมที่ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศจะแสดงให้เห็นถึงผลกระทบที่ชัดเจนเป็นตัวเลขระหว่าง 3 - 5 ปี ดังนั้น ในการวัดถึงผลกระทบที่จะเกิดจากการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ องค์กรคงต้องเผื่อเวลาที่ต้องใช้ในการเรียนรู้ระบบงานนั้น ยิ่งองค์กรใดใช้เวลาในการเรียนรู้เร็วเท่าไหร่ องค์กรนั้นก็จะสามารถได้รับประโยชน์เร็วขึ้นเท่านั้น
3. การกระจายของผลประโยชน์ที่ไม่ทั่วถึง
ได้มีการตั้งข้อสังเกตถึงผลตอบแทนของเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลตอบแทนจากการใช้ประโยชน์ของข้อมูล (Information) ซึ่งมีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ประเภทอื่นคือ การกระจายที่ไม่เท่าเทียมกันของผลประโยชน์จากการใช้ข้อมูล  นั่นคือองค์กรที่ได้รับประโยชน์จากการใช้ข้อมูลได้ประโยชน์มาจากการเสียประโยชน์ขององค์กรอื่น แทนที่จะเป็นการสร้างประโยชน์โดยผลิตผลของตัวเองหรือสร้างประโยชน์โดยที่ไม่มีใครเสียผลประโยชน์ การที่เราใช้ข้อมูลในการคาดการณ์ถึงปริมาณความต้องการของตลาด ราคาที่เหมาะสมของผลิตภัณฑ์ เป็นการสร้างผลประโยชน์ที่จะเกิดเฉพาะผู้มีข้อมูลเหล่านั้นหรือเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นเท่านั้น องค์กรที่ไม่มีข้อมูลเหล่านี้หรือไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้ก็จะเสียเปรียบในการแข่งขัน
เนื่องจากข้อมูลให้ประโยชน์แก่เฉพาะกลุ่มขององค์กรที่มีข้อมูลและก่อให้เกิดการเสียเปรียบแก่บางองค์กรที่ไม่ข้อมูล ในแง่ของ Productivity รวมของทุกองค์กรก็จะเกิดการหักล้างกันไป ไม่ก่อให้เกิดการเพิ่ม Productivity ในแง่ผลรวมของกลุ่มธุรกิจ(Industry)แต่อย่างใด
4. การบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพ (Mismanagement)
สาเหตุประการสุดท้ายที่มักถูกอ้างถึงเสมอในการอธิบายปรากฏการ Productivity Paradox ก็คือ การขาดประสิทธิภาพของฝ่ายบริหารเอง ในการบริหารจัดการเงินลงทุนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ความยุ่งยากประการหนึ่งของผู้บริหารด้านเทคโนโลยีสารสนเทศก็คือ การขาดดัชนีชี้วัดที่แน่นอนในการประเมินผลสำเร็จของการใช้เทคโนโลยี ผลที่ตามมาก็คือ การที่ฝ่ายบริหารไม่สามารถที่จะจัดสรรการลงทุนได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ซึ่งในบางกรณีอาจมีการใช้ทรัพยากรไม่คุ้มค่ากับผลตอบแทนที่จะได้รับมา
นอกจากนี้ การบริหารการลงทุนที่ไร้ประสิทธิภาพก็ยังเป็นผลมาจากสาเหตุหลายประการ เช่น การล้มเหลวของการบริหารโครงการ ระบบงานที่สร้างไม่ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ รวมถึงการขาดประสิทธิภาพในการเผยแพร่เทคโนโลยี (Technology Assimilation) ภายในองค์กรทำให้ไม่ได้รับความร่วมมือจากผู้ใช้ สาเหตุเหล่านี้เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศไม่ก่อให้เกิดผลตอบแทนที่ชัดเจน
ผลตอบแทนจากการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระดับการลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นเรื่อยๆ คำถามที่ผู้บริหารทั้งหลายต้องการทราบก็คือผลตอบแทนของการลงทุนนั้นจะเป็นเท่าใด ระดับการลงทุนเป็นดัชนีชี้วัดประการหนึ่งของความสามารถขององค์กรในการจัดซื้อจัดหาอุปกรณ์ที่ทันสมัยได้ แต่การที่องค์กรจะประสพความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับระดับปริมาณการลงทุนในการจัดซื้อระบบเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยกว่าคู่แข่งแต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้น ยังมีองค์ประกอบอีกหลายประการที่องค์กรควรคำนึงถึง การที่องค์กรมีการลงทุนในระดับที่สูงกว่าคู่แข่งก็ไม่ได้เป็นสิ่งที่สามารถยืนยันได้ว่า องค์กรนั้นจะสามารถประสบความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีได้เหนือคู่แข่งอื่น ดังนั้น เพื่อให้การลงทุนเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด ผู้บริหารควรให้ความสนใจในองค์ประกอบด้านอื่นด้วย เช่น การออกแบบระบบงานที่ถูกต้องเหมาะสมตามความต้องการของผู้ใช้ การจัดการฝึกอบรมผู้ใช้งานให้มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องและมีความชำนาญในการใช้ระบบงานเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสม หากองค์กรใดเอาใจใส่ในสิ่งต่างๆเหล่านี้ องค์กรนั้นก็ย่อมที่จะเห็นผลตอบแทนของการลงทุนได้อย่างชัดเจนภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว
Cost-Benefit Evaluation Techniques
-Net Profit การวัดความต่างระหว่างต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้น เเละรายได้ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในโครงการ
-Payback Period เป็นการหาจุดคุ้มทุนของเงินลงทุนที่บริษัทลงไปเมื่อครั้งเเรก โดยที่ไม่สนใจการช่วงเวลาของเงินที่เกิดขึ้น
-Return on Investment(ROI) คือผลตอบแทนการลงทุนที่คำนวนต่อหน่วยว่าในการลงทุนของเรามีผลตอบแทนอยู่ที่เท่าใหร่ ผลของ ROI จะช่วยให้ เราสามารถประเมินการลงทุนของเราได้ว่าการลงทุนของเราคุ้มค่าหรือไม
-Net Present Value(NPV)คือผลต่างระหว่างมูลค่าปัจจุบันของผลการประหยัดต้นทุน พลังงาน จากมาตรการ ในรูปตัวเงินที่คาดว่าจะได้รับในแต่ละปี ตลอดอายุของโครงการ กับมูลค่าปัจจุบันของเงิน ที่จ่ายออกไป ภายใต้ โครงการที่กำลังพิจารณา ณ อัตราลดค่า (discount rate) หรือค่าของทุน (cost of capital) ที่กำหนดจากคำนิยามข้างต้น การคำนวณหามูลค่าปัจจุบันสุทธิ จะต้องทราบข้อมูลดังนี้
  1. กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ
  2. กระแสเงินสดรับสุทธิรายปีตลอดอายุโครงการ
  3. ระยะเวลาของโครงการ
  4. อัตราลดค่าหรือค่าของทุนของธุรกิจ
-Interest rate of return(IRR)หมายถึงอัตราลดค่า (discount rate) ที่ทำให้มูลค่าปัจจุบัน ของกระแสเงินสด ที่คาดว่าจะต้องจ่ายในการลงทุน เท่ากับมูลค่าปัจจุบัน ของกระแส เงินสด ที่คาดว่าจะได้รับจากการดำเนินการ ประหยัดพลังงาน ตลอดอายุ โครงการ จากคำนิยามข้างต้น การคำนวณหา  อัตราผลตอบแทนลดค่า จะต้องทราบข้อมูลดังนี้
  1. กระแสเงินสดจ่ายลงทุนสุทธิ
  2. กระแสเงินสดรับสุทธิรายปีตลอดอายุโครงการ
  3. ระยะเวลาของโครงการ

    วันพุธที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2553

    INFORMATION TECHNOLOGY FOR PROFESSIONAL ACCOUNTANTS


    Outsourcing, Offshoring, and IT as a subsidiary
    Reason To Outsourcing
    -เพื่อที่องค์กรจะได้ให้ความสนใจกับ core competency ได้อย่างเต็มที่
    -ลดต้นทุน กล่าวคือ องค์กรไม่ต้องมีการฝึกฝนหรือลงทุนในสิ่งที่ไม่ถนัด ซึ่งองค์กรอาจต้องลงทุนจำนวนมากในการเรียนรู้
    -เพิ่มประสิทธิภาพ เนื่องจากการที่องค์กรทำในสิ่งที่ตนไม่ถนัด อาจไม่ได้ผลที่ดีเท่ากับการoutsourceให้กับผู้ที่เชี่ยวชาญโดยตรงทำ
    -ช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เนื่องจากองค์กรได้นำส่วนที่ไม่ถนัดออกไปให้คนอื่นทำ ดังนั้นองค์กรจึงสามารถใช้ทรัพยากรในองค์กรไปเพิ่มความสามารถด้านอื่นๆที่ตนถนัดได้
    Outsourced IT function
    -Application maintenance
    -Telecommunication/LAN
    -PC maintenance
    Outsourcing Agreement
    -Transactional outsourcing agreement การoutsourceออกไปทั้งกระบวนการ
    -Co-sourcing alliance การร่วมมือกับบริษัทoutsourceเพื่อร่วมกันทำโครงการ
    -Strategic partnership การoutsourceออกไปใหห้แก่outsourcerเจ้าเดียว
    Potential
    Risk
    -ประโยชน์ในด้านการประหยัดต้นทุน
    -สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้รวดเร็วกว่า เนื่องจากองค์กรไม่ต้องเรียนรู้เอง
    -องค์กรสามารถนำเอาทรัพยากรขององค์กรไปพัฒนาcore business ของตัวเองได้มากขึ้น
    -ลดภาระปัญหาในการพัฒนาบุคลากรของงองค์กรให้มีความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
    -องค์กรไม่ต้องรับความเสี่ยงจากการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น พัฒนาได้ไม่ตรงต่อความต้องการ หรือไม่มีประสิทธิภาพ เป็นต้น
    -องค์กรสามารถกำหนดระดับของการบริการ (Service Levels)ได้ เช่น ต้องการให้งานเสร็จเมื่อไหร่ ความผิดพลาดที่ยอมรับได้ เป็นต้น
    -การที่ผู้รับทำงานไม่ปฏิบัติตามสัญญาว่าจ้าง
    -การที่ผู้รับทำงานนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศที่พัฒนาให้กับองค์กรไปใช้กับองค์กรอื่นด้วย
    -หากมีการทำสัญญาระยะยาว อาจทำให้องค์กรเกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม และหากไม่พึงพอใจต่อผู้รับทำงานก็ไม่สามารถเปลี่ยนได้


     Strategies for Risk Management in Outsourcing
          Understand project การทำความเข้าใจระบบขององค์กรให้ชัดเจน
          Divide & conquer การแบ่งงานออกเป็นส่วนย่อยๆ
          Align incentives แรงจูงใจในการทำงาน เช่น มีการจ่ายผลตอยแทนล่วงหน้าแก่ผู้รับทำงานให้ เพื่อให้เกิดความกระตือรือร้นในการทำงาน
          Write short-period contracts การทำสัญญาระยะสั้น เพื่อจะได้ไม่เป็นการผูกมัดองค์กร ซึ่งทำให้องค์กรสามารถเปลี่ยนบริษัทผู้รับทำงานให้ได้ หากบริษัทที่ไปว่าจ้างขาดระสิทธิภาพหรือทำงานไม่ดี
          Control subcontracting ต้องมีการตรวจสอบบริษัทผู้รับทำงานให้ หากผู้รับทำงานมีการส่งต่องานไปยังอีกบริษัท องค์กรก็ต้องมีการตรวจสอบบริษัทนั้นด้วย
          Do selective outsourcing การเลือกเฉพาะงานที่ไม่ใข่core business ในการว่าจ้างผู้อื่นทำงานให้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงจากการสูญเสีย core competency
     Factors should be considered in offshore outsourcing
          Business & political environments in selected country  ต้องมีการดูสภาพสังคม เศรษฐกิจ การเมือง รวมทั้งบริษัทที่องค์กรจะไปว่าจ้างเพื่อลดความเสี่ยงจากปัจจัยต่างๆที่อาจเกิดขึ้น
          Quality of infrastructure คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การับ-ส่งข้อมูล
          Risks e.g. IT competency, human capital, the economy, legal environment, and cultural differences  การตรวจดูความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในด้านต่างๆ เพื่อลดความสูญเสียที่อาจเกิดเมื่อองค์กรไปลงทุน
    Risk & Uncertainties in offshore outsourcing
          Cost-reduction expectation
          Data Security/Protection ความปลอดภัยของข้อมูลต่างๆ ตรวจสอบไดยากเนื่องจากผู้รับทำงานให้อยู่ไกล
          Process discipline, which is use of the same process repeatedly without innovation เนื่องจากองค์กรไม่ได้มีการพัฒนาด้วยตนเอง ทำให้อาจขาดการเรียนรู้และพัฒนาเพิ่มเติม
          Loss of business knowledge ความเสี่ยงจากองค์ความรู้ขององค์กรรั่วไหล
          Vendor failure to deliver  การที่ผู้รับทำงานไม่สามารถส่งมอบงานที่มำให้แก่องค์กร
          Scope creep, which is the request for additional services not included in the outsourcing agreement การตั้งข้อจำกัดของงานที่ทำให้ ดังนั้นหากองค์กรมีต้องการเพิ่มเติม อาจต้องมีค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม
          Government oversight/ regulation กฏหมายและการควบคุมของรัฐในประเทศที่ผู้รับทำงานให้ตั้งอยู่
          Differences in culture ความแตกต่างทางด้านวัฒนธรรม
          Turnover of key personnel
          Knowledge transfer  
    Types of work that are not readily offshore outsourced
                    งานที่องค์กรไม่ควรมอบให้ผู้รับทำงานให้ทำ คือ งานที่ถือเป็นcore competency ขององค์กร ซึ่งอาจส่งผลให้องค์กรสูญเสียการควบคุม และงานที่ต้องมีการดูแลด้านความปลอดภัยของข้อมูล หรือความลับขององค์กร รวมทั้งงานที่ต้องการการบูรณาการความรู้เหลายด้านซึ่งองค์กรควรว่าจ้างผู้ที่มีทักษะเข้ามาสอนแทนการว่าจ้างองค์กรอื่น

    Acquiring and Developing Business Applications and Infrastructure
    The business performance management cycle and IT model
    The Framework of IT Application Acquisition
          Wide range of sizes & types. ขนาดและรูปแบบของระบบอาจมีวิธีการได้มาไม่เหมือนกัน
          Applications keep changing over time. การเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาของโปรแกรม
          Applications may involve several business partners. การเกี่ยวข้องกันของหลายบริษัท
          No single way to acquire IT applications.
          Diversity of IT applications requires variety of acquisition methodologies & approaches.
    Acquisition Process of IT Application
          Step 1 –การวางแผน ระบุความต้องการเบื้องต้นของรูปแบบสารสนเทศที่ต้องการ
          Step 2 – การวางโครงสร้างของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อทำให้ระบบเชื่อมโยงกันได้ง่ายขึ้น
          Step 3 – การเลือกวิธีการได้มาของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การซื้อ การเช่า การสร้างขึ้นเอง เป็นต้น
          Step 4 – การทดสอบและตรวจสอบการทำงาน และติดตั้งระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
          Step 5 –การพัฒนา ปรับปรุงซ่อมแซม และอัพเดตอย่างสม่ำเสมอ

    Six steps in selecting a vendor and software package
    1.การตั้งเกณฑ์ในการประเมิน และให้น้ำหนักความสำคัญในแต่ละเกณฑ์
    2.ระบุvendorsที่มีศักยภาพ
    3.ประเมินแต่ละvendorsและรูปแบบของโปรแกรม โดยการสอบถามจากผู้ที่มีประสบการณ์
    4.การตัดสินใจเลือก
    5.การตกลงข้อสัญญาต่างๆที่เป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
    6.การเปิดเผย Service-Level Agreement (SLA)
    Business Process Redesign(BPR) การคิดทบทวนกระบวนการทางธุรกิจ เพื่อออกแบบกระบวนการทางธุรกิจใหม่
    หรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการทางธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจดีขึ้นในด้านต่างๆ
    ตัวขับเคลื่อนที่ทำให้เกิดการออกแบบใหม่
    -ความต้องการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาให้ระบบใช้งานง่ายขึ้น และรวดเร็วขึ้น
    -เพื่อให้ข้อมูลเกิดการบูรณาการ
    -เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น
    -การเปลี่ยนรูปแบบเป็นลักษณะ e-business
    Business Process Management (BPM) หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นภายในองค์กร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็น
    สินค้า/บริการ ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ทั้งลูกค้าภายใน และภายนอกองค์กร โดยลูกค้าภายในองค์กรคือ พนักงานในแผนกต่างๆ ที่ต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ส่วนลูกค้าภายนอกองค์กรคือ บริษัท/บุคคล ที่องค์กรจำเป็นต้องติดต่อประสานงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้ขาย สินค้า/บริการ (Supplier) และ ลูกค้าที่ซื้อสินค้า/บริการ (Buyer) เกิดเป็น Value Chain เชื่อมต่อกันของสายธุรกิจ จากการพัฒนากระบวนการธุรกิจภายในองค์กร